วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย
JOURNAL OF NONGKHAI HOSPITAL

Y2023-32 ประสิทธิผลของการใช้ High flow nasal canula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ

PDF
  • เผยแพร่แล้ว
    4 พ.ค. 2566 10:27 น.
  • คำสำคัญ
    ประสิทธิผล,การใช้ High flow nasal canula,ภาวะหายใจลำบาก,ผู้ป่วยเด็ก

นุชรดา สามพายวรกิจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาผลการใช้ High-flow nasal cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก ในหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
2. เพื่อศึกษาอัตราความสำเร็จของการใช้ High-flow nasal cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากระดับ Impending respiratory failure ในหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive research) เพื่อศึกษาผลการใช้ High-flow nasal cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากในหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่ปีวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 4 เดือน ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน 2565 ถึง เดือนธันวาคม 2565
ผลการศึกษา : ผู้วิจัยนำข้อมูลที่บันทึกลงข้อมูลในโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อนะมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ ซึ่งข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์หาค่าร้อยละ 2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล โรคหรือการวินิจฉัย และ ความเข้มข้นของออกซิเจนแรกรับ ผลการรักษา : อัตราการหายใจ (RR) และความอิ่มตัวออกซิเจน (O2 Sat) ภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาในการรักษาในโรงพยาบาล วิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3.1 การเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราการหายใจ (RR) ก่อนและหลังการใช้ High-flow nasal cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก ในหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ โดยใช้สถิติ paired sample t – test 3.2 การเปรียบเทียบความแตกต่างของความอิ่มตัวออกซิเจน (O2 Sat) ก่อนและหลังการใช้ High-flow nasal cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก ในหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ โดยใช้สถิติ paired sample t – test
สรุปผลการศึกษา
ผลการศึกษาประสิทธิผลของการใช้ High flow nasal canula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.40 และเพศหญิง ร้อยละ 38.60 มีอายุ 1–5 ปี ร้อยละ 45.50 ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยเป็น โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม จำนวน 39 คน รองลงมา โรคหลอดลมฝอยอักเสบ จำนวน 4 คน และ โรคหอบหืด จำนวน 3 คน ซึ่งพบว่าผู้ป่วยเด็ก 1 คน จะได้รับการวินิจฉัยโรคที่เจ็บป่วย 1 โรค หรือมากกว่า 1 โรค ส่วนใหญ่มีค่าความอิ่มตัวออกซิเจน (O2 Sat) แรกรับ เท่ากับ 97 ร้อยละ 34.10 รองลงมา คือ ค่าความอิ่มตัวออกซิเจน (O2 Sat) แรกรับ เท่ากับ 96 ร้อยละ 27.30 และค่าความอิ่มตัวออกซิเจน (O2 Sat) แรกรับ เท่ากับ 95 ร้อยละ 15.90 โดยค่าความอิ่มตัวออกซิเจน (O2 Sat) แรกรับ ต่ำสุด เท่ากับ 87 2. ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากระดับ impending respiratory failure ทั้งหมด 44 ราย แบ่งออกเป็น กลุ่มที่ใช้ HFNC สำเร็จ จำนวน 42 ราย พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุ 1-3 ปี จำนวน 25 คน (ร้อยละ 59.52) ซึ่งพบในเพศชาย จำนวน 25 คน (ร้อยละ 59.52) ส่วนใหญ่มีน้ำหนัก 11 – 15 กิโลกรัม จำนวน 16 คน (ร้อยละ 38.10) ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยเป็น โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม (Pneumonia) จำนวน 37 คน (ร้อยละ 88.09) สำหรับกลุ่มที่ใช้ HFNC ไม่สำเร็จ จำนวน 2 ราย พบว่า มีอายุ 1 เดือน จำนวน 1 คน และอายุ 1 ปี จำนวน 1 คน ซึ่งเป็นเพศชายทั้ง 2 คน มีน้ำหนัก 3.4 กิโลกรัม และ 11 กิโลกรัม ซึ่งทั้ง 2 คน ได้รับการวินิจฉัยเป็น โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม (Pneumonia) 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลการรักษาโดยการใช้ High flow nasal canula (HFNC) ในหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ 3.1 ผลการรักษา 1) อายุ พบว่า ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ High flow nasal canula (HFNC) ในหอผู้ป่วย สามัญกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ มีอายุ 1–5 ปี ร้อยละ 45.50 รองลงมา คือ มีอายุ 2 เดือน – 1 ปี ร้อยละ 40.90 มีอายุน้อยกว่า 2 เดือน ร้อยละ 6.8 และมีอายุมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 6.8 โดยอายุมากที่สุด เท่ากับ 10 ปี และอายุน้อยที่สุด เท่ากับ 25 วัน และมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 2.13 ปี 2) อัตราการหายใจ และอัตราการเต้นของหัวใจ ของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ High flow nasal canula (HFNC) ในหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ก่อนและหลังการรักษาโดยการใช้ High flow nasal canula (HFNC) ดังตารางที่ 1 พบว่า (1) ผู้ป่วยเด็กที่มีอายุ < 2 เดือน มีอัตราการหายใจเฉลี่ย 44.33 ครั้ง/นาที มีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 146 ครั้ง/นาที และหลังการใช้ HFNC 1 วัน พบว่า มีอัตราการหายใจเฉลี่ย 37.33 ครั้ง/นาที และมีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 122 ครั้ง/นาที (2) ผู้ป่วยเด็กที่มีอายุ 2 เดือน – 1 ปี มีอัตราการหายใจเฉลี่ย 43.72 ครั้ง/นาที มีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 153.11 ครั้ง/นาที และหลังการใช้ HFNC 1 วัน พบว่า มีอัตราการหายใจเฉลี่ย 30 ครั้ง/นาที และมีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 112.67 ครั้ง/นาที (3) ผู้ป่วยเด็กที่มีอายุ 1 ปี - 5 ปี มีอัตราการหายใจเฉลี่ย 39.50 ครั้ง/นาที มีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 135.30 ครั้ง/นาที และหลังการใช้ HFNC 1 วัน พบว่า มีอัตราการหายใจเฉลี่ย 28.60 ครั้ง/นาที และมีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 104.07 ครั้ง/นาที (4) ผู้ป่วยเด็กที่มีอายุ อายุ > 5 ปี มีอัตราการหายใจเฉลี่ย 33.33 ครั้ง/นาที มีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 129 ครั้ง/นาที และหลังการใช้ HFNC 1 วัน พบว่า มีอัตราการหายใจเฉลี่ย 23.33 ครั้ง/นาที และมีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 90 ครั้ง/นาที
การอ้างอิงบทความ
ฉบับ
ประเภทบทความ
เอกสารอ้างอิง
1. Campbell H.(1995). Acute respiratory infection: a global challenge. Arch Dis Child 1995;73(4):281-3. 2. Hasan R, Rhodes J, Thamthitiwat S, et al.(2014). Incidence and etiology of acute lower respiratory tract infections in hospitalizedchildren younger than 5 years in rural Thailand. Pediatric Infect Dis J 2014; 33:e 45-52. 3. กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยตายโรคปอดบวมในเด็กไทย อายุ 1 เดือน ถึง 5 ปีบริบูรณ์.(ออนไลน์) สืบค้นจาก Availablefrom:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/.เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565. 4. Can FK, Anil AB, Anil M, Zengin N, Bal A, Bicilioglu Y, et al.(2017). Impact of High-flow Nasal Cannula Therapy in Quality Improvement and Clinical Outcomes in a Non-invasive Ventilation Device-free Pediatric Intensive Care Unit. Indian Pediatr 2017;54(10):835-40. 5. Krishnan, A., Amarchand, R., Gupta, V., Lafond, K. E., Suliankatchi, R. A., Saha, S.,Widdowson, M. A. (2015). Epidemiology of acute respiratory infections in children-preliminary results of a cohort in a rural north Indian community. BMC infectious diseases, 15,462. doi:10.1186/s12879-015-1188-1 6. ศุภกัญญา ชูจันทร์. (2562). ผลของการให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์เด็กเล็ก. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 7. Panichhot, A. Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS).(2015) In D. Sathaworn, K. Piyavejwirat, S. Poonthavorn (Eds), Critical care medicine: The acute care (pp. 232-241). Bangkok: Beyond Enterprise. 8. นิตยา สุวรรณเวศม์. (2557). การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลระบบทางเดินหายใจในผู้ป่วยเด็ก. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . 9. ธนรัตน์ พรศิริรัตน์ และสุรัตน์ ทองอยู่. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะพร่องออกซิเจน และได้รับการรักษาด้วย High Flow Nasal Cannula. เวชบันทึกศิริราช. ปีที่ 13ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2563. 10. ฉัตรกมล ชูดวง และอัจจิมาวดี พงศ์ดารา (2562).ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก. การจัดการความรู้ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://kmmnstteam.wixsite.com.เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565. 11. Nishimura M. (2015). High-flow nasal cannula oxygen therapy in adults. J Intensive Care 2015; 3: 15. 12. โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ.(2566). กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์.โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ. 13. ภัณฑิลา สิทธิการค้า. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบการรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากด้วยการให้ High flow nasal cannula กับการรักษาด้วยออกซิเจนตามการรักษาปกติ. (ออนไลน์) สืบค้าจาก https://www.thaipedlung.org/download/Chula_Panthila_edited.pdf .เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565. 14. ยุวดี คงนก. (2564). เปรียบเทียบการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างและมีภาวะหายใจลำบากด้วยการให้ High flow nasal cannula กับการรักษาด้วยออกซิเจนมาตรฐาน. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. ปีที่ 5 ฉบับที่ 10 ( เมษายน 2564 – กันยายน 2564). 15. Can FK, Anil AB, Anil M, Zengin N, Bal A, Bicilioglu Y, et al. Impact of High-flow Nasal Cannula Therapy in Quality Improvement and Clinical Outcomes in a Non-invasive Ventilation Device-free Pediatric Intensive Care Unit. Indian Pediatr 2017;54(10):835-40. 16. สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประทศไทย. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ 2562. (2562). พิมพ์ครั้งที่ 1 . บริษัท บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์จำกัด

ติดต่อเรา

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

ISSN 1686-4417 (Print)

ISSN 2730-2822 (Online)

โรงพยาบาลหนองคาย

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000

โทรศัพท์ 042-413456-65 ต่อ วิชาการ

Email address : EthicsNKH@hotmail.com