วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย
JOURNAL OF NONGKHAI HOSPITAL

Y2023-30 ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการเข้าถึงระบบบริการ Stroke fast track ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

PDF
  • เผยแพร่แล้ว
    22 มี.ค. 2566 14:38 น.
  • คำสำคัญ
    Stroke Fast Track ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โปรแกรมพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมอง

อังคาร ปลัดบาง (AungKharn phaludbang)*สุขวรรณ ชุติวัตรพงศธร( Sukawan chutiwatpongstron)**

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครประจำหมู่บ้านต่อการเข้าถึงระบบบริการ Stroke fast track
รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ( อสม.) จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 30 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ศึกษาที่ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)โปรแกรมการให้ความรู้และฝึกทักษะ 2) แบบประเมินความรู้และทักษะการประเมินกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอเลือดสมองของ อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ( อสม.) และ 3) แบบเก็บข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างทั้ง อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ( อสม.) และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปความรู้และทักษะของอสม.วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานใช้ในกลุ่มประชากรสองกลุ่มที่ไม่อิสระต่อกัน (independent t-test) โดยสถิต pair t-test
ผลการศึกษา : พบว่า 1)กลุ่มตัวอย่างที่เป็น อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ( อสม.) จำนวน 30 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.30 มีอายุเฉลี่ย 57.03 ปี มีอายุระหว่าง 56-60 ปี มากที่สุดร้อยละ 36.70 สถานภาพสมรส ร้อยละ 80.0 การศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 96.7 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 93.3 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.30 มีอายุเฉลี่ย 62.87 ปี มีโรคประจำตัวที่เป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงร้อยละ 100 และมีโรคประจำตัวที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร่วมกัน ร้อยละ 36.67 2)เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองปัจจัยเสี่ยง อาการเตือนฯ ความรู้เรื่องการเรียกใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของอสม. โดยใช้สถิติทดสอบค่าที (independent t-test) พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นจาก 8.5 เป็น 15.37 มีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นจาก 14.63 เป็น 19.83 รับรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นจาก 17.63 เป็น 22.80 คะแนนความรู้ในการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นจาก 19.10 เป็น 25.75 และคะแนนความรู้เรื่องการเรียกใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพิ่มขึ้นจาก 24.47 เป็น 28.37 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001
สรุปผลการศึกษา
ลักษณะข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.30 มีอายุเฉลี่ย 57.03 ปี ( SD 5.77) และ มีอายุระหว่าง 56-60 ปี มากที่สุดร้อยละ 36.70 สถานภาพสมรส ร้อยละ 80.0 การศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 96.7 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 93.3 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในกลุ่มเสี่ยงในน้ำโมง จำนวน 30 ราย พบว่าเป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.30 มีอายุเฉลี่ย 62.87 ปี มีโรคประจำตัวที่เป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงร้อยละ 100 และมีโรคประจำตัวที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร่วมกัน ร้อยละ 36.67
การอ้างอิงบทความ
ฉบับ
ประเภทบทความ
เอกสารอ้างอิง

ติดต่อเรา

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

ISSN 1686-4417 (Print)

ISSN 2730-2822 (Online)

โรงพยาบาลหนองคาย

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000

โทรศัพท์ 042-413456-65 ต่อ วิชาการ

Email address : EthicsNKH@hotmail.com